พุดตะแคง
พุดตะแคง หอมแรง ดอกสวยน่ารักมาก จัดเป็นไม้วงศ์พุด ไม่ใช้ไม้ดั้งเดิมของไทย แต่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยนานหนักหนา พบว่าชื่อของดอกพุดตะแคงถูกบรรยายเล่าไว้ในหนังสือวรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กของคุณทิพวาณี สนิทวงศ์ เป็นเรื่องราวเก่าๆเหตุกราณ์ที่เกิดขึ้นสมัยแผ่นดินของรัชกาลที่๖และรัชกาลที่๗ จะเห็นได้ว่ายุคช่วงกลางรัชกาลที่๕ ชนชั้นเจ้านายได้นำต้นไม้ดอกไม้จากนอกเข้ามาปลูกและได้รับความนิยมออกมาสู่ชนชั้นชาวบ้าน และพุดตะแคงก้อเช่นกันได้รับความนิยมเพราะความหอมและดอกสวยแปลกตามากในสมัยนั่น เป็นเหตุให้ได้รับความนิยมนำเข้ามาเพราะเลี้ยงในเขตพระราชฐานอุทยานหลวง เดิมทีไม้ชนิดนี้เป็นของประเทศอินเดีย น่าจะเข้ามาในไทยแต่เมื่อครั้งล้นเกล้ารัชกาลที่๕เสด็จประพาสอินเดียเมื่อปีพ.ศ๒๔๑๔ ""ว่าด้วยเรื่องต้นไม้ดอกไม้ล้นเกล้าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดสวนธรรมชาติมากดอกไม้ต้นไม้พระองค์ทรงเสาะหานำเข้ามาปลูกไว้ในเขตพระราชฐานไว้มากมาย ซึ้งส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นไม้ที่ให้กลิ่นหอมยวนใจพาให้สดชื่นชวนดม เมื่อพระองค์เสด็จประพาสต่างเมืองที่ใดก้อเห็นพืชพันธุ์จากต่างบ้านต่างเมืองที่จะนำมาเพราะเลี้ยงให้งอกงามได้ในแผ่นดินของพระองค์ได้อย่างดี ที่มาที่ไปของต้นพุดตะแคงคงเข้ามาตั้งแต่นั่นมา ถูกนำมาปลูกจนกลมกลืนกลายเป็นไม้หอมไทยไปโดยไม่รู้ตัว "พุดตะแคง"เป็นไม้พุ่มลำต้นกิ่งก้านไม่แน่นอนที่จะเลื้อยหรือจะเป็นกิ่งพุ่ม ตัวดอกเป็นก้านยาวเริ่มบานสีขาวสะอาดตา วันต่อไปจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีนวลจนค่อนไปทางสีเหลืองเย็นตา พูดถึงเรื่องกลิ่นจากที่ปลูกเลี้ยงมา กลิ่นของดอกพุดตะแคงจะแรงจัดมาก ถ้าเด็ดนำมาดมไม่แน่ะนำควรปล่อยให้กลิ่นรำเพยมาตามลมจะหอมชวนดมกว่าเอาจมูกไปดมใกล้ๆ พุดตะแคงส่งกลิ่นช่วงเย็นและจะเริ่มทวีคูณกลิ่นมากขึ้นช่วงค่ำคืน ตัวดอกจะตะแคงเอียงข้างผิดแผกไปจากไม้ดอกชนิดอื่นๆ ก้อเรียกตามรูปลักษณ์ของดอกเพียงเท่านั้น ฤดูที่จะติดอกดกคือไล่ตั้งแต่หน้าฝนไปจนหน้าหนาวจะติดดอกดกมากที่สุดแต่ก้อมีดอกได้ตลอดปีถ้าได้รับแสงและดูแลใส่ปุ๋ยคอกบ้าง พยามรูดใบแตกใบใหม่บ้างเพื่อดอกในรุ่นต่อไปจะมีขนาดใหญ่และติดดอกดก