top of page
การเวก

การเวก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys hexapetalus (Linn.f.) Bhandari.

ชื่อเรียกอื่น : (ภาคกลาง และทั่วไป) การเวก, กระดังงาจีน (ภาคเหนือ), สะบันงาจีน, สะบันงาเครือ (ภาคใต้) กระดังงาเถา (ภาคตะวันตก (ราชบุรี)), กระดังงาป่า, หนามควายนอน

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ลักษณะ : ลำต้น กระดังงา/การเวก เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งที่มีเถาขนาดใหญ่ และมีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นมีผิวเรียบสีเทาจนถึงดำ โดยเฉพาะต้นที่มีอายุมากจะมีลำต้นสีดำ และมีปุ่มนูนสลับกันตามความสูงของลำต้น โดยแตกกิ่งเลื้อยยาวจำนวนมากบริเวณส่วนปลายของต้น กิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีเขียว กระดังงา/การเวก เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งที่มีเถาขนาดใหญ่ และมีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นมีผิวเรียบสีเทาจนถึงดำ โดยเฉพาะต้นที่มีอายุมากจะมีลำต้นสีดำ และมีปุ่มนูนสลับกันตามความสูงของลำต้น โดยแตกกิ่งเลื้อยยาวจำนวนมากบริเวณส่วนปลายของต้น กิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีเขียว ใบ ใบกระดังงา/การเวก แทงออกเป็นใบเดี่ยว เยื้องสลับข้างกันบนกิ่ง แผ่นใบเรียบ มีรูปทรงรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขนาดกว้าง 4-8 ซม. ยาว 12-18 ซม. ใบค่อนข้างหนา และเหนียว ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใต้ใบมีสีอ่อนกว่า และมีขนตามเส้นใบ ดอก ดอกกระดังงา/การเวก อาจแทงออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่มหลายดอก 2-5 ดอก มีก้านดอกโค้งงอ สีเขียว ดอกอ่อนหรือดอกตูมที่ยังไม่บานจะมีรูปทรงกรวย ปลายดอกแหลม เมื่อบานจะกลีบดอกจะแผ่ออก และมีกลิ่นหอม จำนวนกลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ แต่ละกลีบแยกจากกัน มีรูปรี ปลายกลีบแหลม เรียงสลับกันจำนวน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ โดยกลีบดอกชั้นในจะสั้น และเล็กกว่าชั้นนอก ขนาดกลีบยาวประมาณ 3-4 ซม. โดยกลีบดอกจะบานในช่วงเช้าตรู่ และไม่หุบกลับจนกว่าดอกจะร่วง ทั้งนี้ ดอกกระดังงา/การเวกจะบานได้ตลอดทั้งปี 

ผล และเมล็ด ผลกระดังงา/การเวกมีลักษณะค่อนข้างรี และป้อม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง แดง และสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด

#วิธีปลูก

ปลูกได้กับทุกสภาพดินอากาศ ชอบเเดดเต็มวันจะออกดอกได้ดีมาก ไม่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษเเต่ถ้าอยากจะดูเเลควรใส่ปุ๋ยคอกจะดีต่อต้น

#คุณสมบัติเด่นคือนางจะมีความตรงต่อเวลาคือจะส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายในช่วงพลบค่ำ และส่งกลิ่นแรงขึ้นในยามค่ำคืน

    ฿89.00ราคา
    หน้าเพจสินค้า: Stores_Product_Widget