การปักชำ คือการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก หรือ ลำต้น ไปปักชำ และส่วนของพืชเหล่านี้จะเจริญงอกงามเป็นลำต้นต่อไป การปักชำเป็นวิธีขยายพันธุ์พืชที่ดีวิธีหนึ่งซึ่งมีข้อดี ดังนี้
1. ขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก
2. ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคหรือความสามารถมาก
3. ต้นพืชเจริญเติบโตเร็ว โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน
4. พืชต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการ
รู้จักข้อดีแล้วเรามาเริ่มขั้นตอนการปักชำกัน
1.เลือกกิ่งที่จะใช้เพื่อปักชำ
ใช้กิ่งแก่ที่กึ่งแก่ กึ่งอ่อน หรือเปลือกภายนอกดูเขียวจะสามารถออกรากได้ง่ายกว่ากิ่งอ่อน และควรเป็นกิ่งสมบูรณ์ หรืออายุมากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป แต่ยกเว้นว่า ไม่ควร่ตัดออกจากกิ่งตอนมา เพราะกิ่งตอนก็มีอายุเท่ากับแม่ก็ว่าได้ (ไม่ยืดยาวหรือมีข้อห่างหรือกิ่งเล็ก) มีอาหารสะสมมาก เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับการออกรากและการเจริญของตาเป็นกิ่งใหม่ อาหารในกิ่งนี้ต้องเลี้ยงต้นใหม่จนกว่าจะเลี้ยงตัวได้เอง
ตัดกิ่งเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว มีตาอย่างน้อย 2-3 ตา ตัดใบออกหมด ด้านบนและล่างตัดเฉียง 45-60 องศา หรือตรงหัวเขียง ห่างจากตาสุดท้ายประมาณครึ่งนิ้ว การตัดไม่ควรจะให้กรรไกรเพราะจะทำให้เนื้อไม้ซ้ำครับ
2.การเร่งราก
หลังจากได้กิ่งที่ต้องการแล้ว ให้ทำการเร่งราก ด้วยการกรีดที่โคนกิ่งยาวประมาณ 1 นิ้ว 2-3 รอย และจุ่มฮอร์โมนเร่งรากเพื่อช่วยให้เกิดรากดีขึ้น ฮอร์โมนที่ใช้มักจะมีความเข้มข้นค่อนข้างสูง
3.วัสดุปักชำ
โดยทั่วไปนิยมปักชำในทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 หรือขี้เถ้าแกลบอย่างเดียวก็ได้ หรือขุ่ยมะพร้าว กับแกลบก็ได้ ไม่นิยมใช้ดินเหนียวเพราะจะเกิดรากยากและ การอุ้มน้ำของดินเหนียวอาจทำให้กิ่งเน่าได้ ความชื้นที่ดีที่สุดสำหรับการปักชำนั้นอยู่ที่ 60 % ซึ่งสามารถเช็คได้ด้วยตนเอง ด้วยการลองกำดินดูแล้วไม่มีน้ำหยดลงและดินมีความร่วนซุย
4.ทำการปักชำ
ปักกิ่งลงในวัสดุปักชำเป็นมุมเอียง 60 องศากับผิวหน้าวัสดุปักชำ หรือตั้งตรง ปักลึก 1-2 นิ้ว หรือลงไปใต้ตาบนสุดเหนือวัสดุปักชำ ระยะระหว่างกิ่งประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร (ควรพิจารณาตามขนาดของกิ่ง ไม่ให้ชิดหรือห่างเกินไปเมื่อออกราก) แต่ที่สำคัญสุดคืออย่าให้กิ่งชำขยับเด็ดขาด อาจใช้ไม้หรือเชือกรัดรวมกิ่งไว้ก็ได้
5.พื้นที่เหมาะสมสำหรับการทำพื้นที่ปักชำ
จากนั้นควรตั้งในที่มีแสงแดดรำไร มีความชื้นสูง เนื่องจากกิ่งแก่ต้องการความชื้นสูงแต่ไม่สามารถทนต่อการรดน้ำจนเปียกโชกตลอดเวลา เพราะไม่มีใบคายน้ำ ถ้าให้น้ำบ่อยเกินไปกิ่งจะเน่าได้ง่าย ดังนั้น ควรทำบริเวณรอบ ๆ กิ่งชำให้มีความชื้นสูงดีกว่าการรดน้ำให้พืชโดยตรงบ่อย ๆ (ถ้าปักชำไม่มากนัก อาจจะชำในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ผูกปากให้แน่น หรือตั้งในหมู่ต้นไม้ใหญ่ที่รดน้ำวันละครั้ง)
6.หลัง7-14 วันคอยสังเกตุหากมีรากสามารถแยกเอาต้นกล้าไปปลูกลงในกระถางและตั้งในพื้นที่รำไรเพื่อทำการอนุบาลต้นกล้าจนรู้สึกว่าต้นกล้าแข็งแรงดีหรือรากเยอะพอที่จะนำไปลงดินต่อไปได้
ข้อควรระวัง : ไม่ควรนำต้นที่พึ่งออกจากเรือนเพาะชำไปปลูกทัน จำเป็นต้องทำการปรับสภาพต้นไม้ให้คุ้นเคยกับแสงที่เหมาะสมก่อนเสมอนะครับ
Comments